1.บอกความหมายของข้อมูล การประมวลผลและสารสนเทศได้2.บอกความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ3.บอกขั้นตอนการประมวลผลที่ทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศได้ 4.อธิบายคุณสมบัติที่ดีของข้อมูลได้5.ตระหนักในความสำคัญของข้อมูล สารสนเทศและการประมวลผลข้อมูล6.วิเคราะห์ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนนำไปใช้ได้อย่างมีจิตสำนึก
ใบงานที่ 1.1
ใบความรู้ที่ 1.1 ข้อมูลและสารสนเทศ ความหมายของข้อมูล การประมวลผล และสารสนเทศ ประเภทของข้อมูล โครงสร้างของข้อมูล การประมวลผลข้อมูล คุณสมบัติที่ดีข้องข้อมูล
ความหมายของข้อมูล การประมวลผล และสารสนเทศ
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สถานที่ สิ่งของต่าง ๆ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมเอาไว้ และสามารถนำไปประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้สามารถเรียกเอามาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง โดยข้อมูลอาจเป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ตัวอักษร เสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้ผ่านการประมวลผลและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา
ทั้งนี้ข้อมูลที่จะเป็นสารสนเทศที่ดีนั้นจะต้องผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การประมวลผล (Processing) ซึ่งหมายถึง การจัดการกับข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปอย่างใดอย่างหนึ่งและสามารถนำเอาข้อสรุปหรือสารสนเทศนั้นไปช่วยในการตัดสินใจได้
แผนภูมิ แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลและสารสนเทศ
ตาราง แสดงตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล การประมวลผล และสารสนเทศ
ข้อมูล
การประมวลผล
สารสนเทศ
เกรดแต่ละวิชา
เกรด x หน่วยกิต / หน่วยกิตรวม
เกรดเฉลี่ยสะสม
การเลือกตั้ง ส.ส. โดยราษฎรกากบาทลงบัตรเลือกตั้ง
กำนับจำนวนคะแนนในแต่ละหน่วยเลือกตั้ง
คะแนนเสียงที่ผู้สมัคร
แต่ละคนได้รับ
กลับด้านบน
ประเภทของข้อมูล
ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี 5 ประเภท คือ
1. ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นจำนวนตัวเลข สามารถนำไปคำนวณได้ เช่น จำนวนเงินเดือนราคาสินค้า 2. ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร และสัญลักษณ์เช่น ชื่อ สกุล ที่อยู่ 3. ข้อมูลเสียง (Audio Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นเสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงพูด4. ข้อมูลภาพ (Images Data) คือ ข้อมูลที่เป็นจุดสีต่าง ๆเมื่อนำมาเรียงต่อกันแล้วเกิดรูปภาพขึ้น เช่น ภาพถ่าย ภาพลายเส้น เป็นต้น5. ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวต่าง เช่น ภาพเคลื่อนไหวที่ถ่ายด้วยกล้องวิดีโอ หรือภาพที่ทำจากโปรแกรมต่างๆ เป็นต้น
โครงสร้างของข้อมูล
ในระบบคอมพิวเตอร์จะมีการจัดโครงสร้างข้อมูล (Data Structure) ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่มีขนาดต่างกัน ดังนี้
1. บิต (Bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งเป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปใช้งานได้ ได้แก่ เลข 0 และ เลข 12. ไบต์ (Byte) หรือ อักขระ (Character) ได้แก่ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ 1 ตัว เช่น 0,1 9, A, B, Z ซึ่ง 1 ไบต์ จะเท่ากับ 8 บิต หรือ ตัวอักขระ 1 ตัว3. ฟิลด์ (Flied) คือ อักขระ ตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป รวมกันเป็น ฟิลด์ เช่น เลขประจำตัว ชื่อสกุล เป็นต้น4. เรคคอร์ด (Record) คือ การนำเอาฟิลด์หลายฟิลด์และมีความสัมพันธ์มารวมกลุ่มกัน เช่น นักเรียนแต่ละคนจะมีข้อมูลที่เกี่ยวกับ ชื่อ สกุล อายุ เพศ เกรดเฉลี่ยฯลฯ โดยข้อมูลในลักษณะนี้คือ 1 เรคคอร์ดนั่นเอง5. แฟ้มข้อมูล หรือ ไฟล์ ( Flies) คือ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน และเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักเรียนห้อง ม.1/1 จำนวน 50 คน ทุกคนจะมีข้อมูลเกี่ยวกับ ชื่อ สกุล เพศ อายุ เกรดเฉลี่ย ฯลฯ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ของนักเรียนจำนวน 50 คนนี้ เรียกว่า แฟ้มข้อมูล 6. ฐานข้อมูล (Database) คือ การเก็บรวบรวมไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องมารวมกัน แผนภูมิ แสดงโครงสร้างของข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
การประมวลผลข้อมูล
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล มีขั้นตอนการประมวลผล 3 ขั้นตอน คือ การรวบรวมข้อมูลเข้า การประมวลผลข้อมูล และการนำเสนอข้อมูล ดังแสดงในแผนภูมิ
แผนภูมิ แสดงขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
1. การเตรียมข้อมูล เป็นการเตรียมข้อมูลเพื่อใช้ในการประมวลผลข้อมูล ประกอบด้วย 1.1 การรวบรวมข้อมูล เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้รับจากแหล่งต่าง ๆ 1.2 การตรวจสอบข้อมูล เป็นการตรวจสอบข้อมูล เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบต้องมีความเชื่อถือได้ หากพบที่ผิดพลาดต้องแก้ไข
2. การประมวลข้อมูลหรือการจัดการข้อมูล ในการประมวลผลข้อมูลสามารถจัดการได้หลายวิธีดังนี้ 2.1 การแยกประเภท เป็นแยกประเภทข้อมูลให้ถูกต้องตามลักษณะงานหรือคุณสมบัติของข้อมูล เช่น แยกประเภทตามรหัส อาชีพ เพศ เป็นต้น 2.2 การเรียงลำดับข้อมูล เป็นการจัดเรียงข้อมูลไว้เป็นลำดับ เพื่อความสะดวกในการค้นหาหรือการเก็บรักษา เช่นเรียงตามลำดับชื่อ วันเวลา อักษร เป็นต้น 2.3 การคำนวณ เป็นการประมวลผล โดยการใช้การบวก ลบ คูณ หาร เพื่อหาผลลัพธ์ของข้อมูล 2.4 การสรุปผลข้อมูล เป็นการสรุปผลการคำนวณ ทำให้เกิดข้อมูลใหม่ขึ้นมาในรูปของสารสนเทศ
3. การจัดการผลลัพธ์และการนำเสนอ 3.1 การเก็บรักษาข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึกต่าง ๆ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล นอกจากนี้ยังรวมถึงการดูแล และทำสำเนาข้อมูลเพื่อให้ใช้งานต่อไปในอนาคต 3.2 การค้นหาข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บไว้มีจุดประสงค์ที่จะเรียกใช้งานได้ต่อไป การค้นหาข้อมูลจะต้องค้นได้ถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว จึงมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนช่วยในการทำงาน ทำให้การเรียกค้นกระทำได้ทันเวลา 3.3 การทำสำเนาข้อมูล การทำสำเนาเพื่อที่จะนำข้อมูลเก็บรักษาไว้ หรือนำไปแจกจ่ายในภายหลัง จึงควรจัดเก็บข้อมูลให้ง่ายต่อการทำสำเนา หรือนำไปใช้อีกครั้งได้โดยง่าย 3.4 การสื่อสาร ข้อมูลต้องกระจายหรือส่งต่อไปยังผู้ใช้งานที่ห่างไกลได้ง่ายการสื่อสารข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้การส่งข่าวสารไปยังผู้ใช้ทำได้รวดเร็วและทันเวลา
คุณสมบัติที่ดีข้องข้อมูล
Webmaster by Samorn Tarapan E-mail : smo_t@yahoo.com Last Update : 31/05/2551 07:52:50